25 มกราคม 2552

สีลวงตา?!

เชื่อหรือไม่? สี่เหลี่ยมเล็กในภาพทั้งซ้ายขวาของแต่ละคู่คือสีเดียวกัน











ส่วนสองภาพต่อไปนี้ สี่เหลี่ยมเล็กห้ารูปชุดซ้ายบนมีสีเดียวกับชุดขวาล่าง และชุดซ้ายล่างมีสีเดียวกับชุดขวาบน

น่าทึ่งใช่มั้ยล่ะ!
นี่ก็ถือเป็นจิตวิทยาเช่นกัน ซึ่งเรียกว่า Psychology of Color Perception
มีให้ดูอีกที่ source เลยครับ

source: http://www.psy.ritsumei.ac.jp/~akitaoka/shikisai2005.html

เรียนจบจิตวิทยาทำอาชีพอะไรได้บ้าง

เมื่อคนนึกถึงนักจิตวิทยา มักจะคิดถึงนักบำบัดที่เรียนมาสูงๆนั่งอยู่ที่ออฟฟิศหรูหรา หรือคิดถึงนักวิทยาศาสตร์หัวฟูๆในมือถือเข็มอิเล็กโตรดคอยจิ้มสมองเล็กๆหนูทดลองในห้องแล็บ ซึ่งจริงๆแล้วมันก็จริง แต่เป็นเพียงส่วนเล็กๆส่วนหนึ่งของสิ่งที่นักจิตวิทยาทำ

นักจิตวิทยาสามารถเข้าไปทำงานได้ในหลากหลายสาขาอาชีพมาก ถึงแม้ว่างานหลักใหญ่ๆจะอยู่ในด้านการบำบัดและการเรียนการศึกษา และส่งที่จะบอกต่อไปนี้คือกลุ่มงานที่คุณๆสามารถเลือกไปทำงานได้หลังจากที่ได้เรียนจิตวิทยา โดยทั่วไปแล้วควรจะจบปริญญาเอกแต่ก็มีบางสายงานที่จบปริญญาโทก็เพียงพอที่จะทำงานได้แล้ว

1.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษา (Clinician)


กลุ่มนี้มักจะทำงานในโรงพยาบาล ไม่ก็ตามชุมชนต่างๆ หรือไม่ก็ทำเองส่วนตัวโดยใช้เวลาทำงานของตนเองทั้งวันในการอยู่กับผู้ที่รับการบำบัด โดยทั่วไปแล้วงานกลุ่มนี้จะต้องการการศึกษาระดับปริญญาเอกในทั้งสาขาจิตวิทยาคลินิกและจิตวิทยาการปรึกษา และควรจะได้เรียนเรื่องจิตพยาธิวิทยาและวิธีการรักษาต่างๆมาอย่างดี ในสหรัฐอเมริกาจะมีกลุ่มที่ทำงานแบบนี้ประมาณ 40-45% ของนักจิตวิทยาทั้งหมด

2.กลุ่มนักการศึกษา (Educator)


ในสหรัฐฯ นักจิตวิทยามักจะเริ่มต้นทำงานกับด้านการศึกษาอยู่ประมาณ 40% บางคนก็สอนจิตวิทยา บางคนก็ทำงานวิจัยและให้ดูแลโครงงานวิจัยของนักเรียนนักศึกษา แนะนำการทำวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ของนักศึกษา และบางคนก็ทำวิจัยกันเอง อยู่ในห้องทดลองหรือที่อื่นๆ หลายคนในกลุ่มนี้ก็เหมาเอาหมดทุกงานตามที่ได้กล่าวมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ

3.กลุ่มธุรกิจ (Business)


นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การที่ได้รับการฝึกฝน ได้รับการเทรนในแวดวงธุรกิจและการจัดการองค์กร คนกลุ่มนี้จะถูกว่าจ้างโดยองค์กรใหญ่ๆหรือบริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านการยศาสตร์ (Ergonomic คือ การทำให้สถานที่ทำงานและเครื่องใช้ไม้สอยให้เหมาะสมกับผู้ที่ทำงาน) งานที่ได้ทำจะขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจที่เข้าไปทำและความต้องการของบริษัทนั้นๆ แต่ก็ทำอยู่เกี่ยกวับการสัมภาษณ์งาน การจ้างคน การฝึกพนักงาน การเลื่อนขั้นพนักงาน การประเมินการสื่อสารระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มกัน และช่วยเหลือผู้บริหารในการตัดสินใจในเรื่องเกี่ยวกับลูกจ้างและนโยบายกฏเกณฑ์ต่างของพนักงานแม้ว่าเป็นสาขาเฉพาะที่กำลังเติบโตอยู่เรื่อยๆ แต่ทว่าในสหรัฐฯก็มีสัดส่วนแค่ 5% จากนักจิตวิทยาทั้งหมด

4.กลุ่มงานกีฬา (Sports)


นักจิตวิทยาบางคนก็ผสมผสานระหว่างด้านกีฬาที่ตนเองสนใจเข้ากับความรู้ทางด้านพฤติกรรมมนุษย์และแรงจูงใจต่างๆ ผู้ที่ทำงานสายอาชีพนี้มักจะทำงานเพียงกีฬาใดกีฬาหนึ่งไปหรือเจาะจงบางทีมไปเลยเพื่อศึกษาและช่วยให้ทีมพัฒนาได้ดีขึ้น เมื่อทีมอยู่ในสภาวะแรงจูงใจตก มีความกังวล ความกลัว และตอนที่มีเป้าหมายในการแข่งขัน

5.กลุ่มงานเทคโนโลยี (Technology)


เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตเป็นกลุ่มงานใหม่ที่ตระหนักถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์จากจิตวิทยา นักจิตวิทยาจะมีบทบาทเข้าไปเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เรื่องระหว่างคนกับเครื่องจักร คนกับสิ่งแวดล้อมการทำงาน คนกับเทคโนโลยี เป็นต้น หรือจะพูดอีกอย่างได้ว่า นักจิตวิทยากลุ่มนี้จะศึกษาว่าเทคโนโลยีจะส่งผลอย่างไรกับเรา และเทคโนโลยีจะช่วยทำให้ชีวิตของเราดีขึ้นได้อย่างไร

6.กลุ่มงานอื่นๆ (Other)

ผู้เขียนไม่สามารถระบุได้หมดว่านักจิตวิทยาสามารถทำอะไรได้บ้าง เพราะว่านักจิตวิทยาสามารถทำงานได้หลากหลายมากมาย บางคนก็ทำงานส่วนตัวเป็นพาร์ทไทม์และมีสอนบ้าง บางคนก็ทำการวิจัยในช่วงปิดภาคฤดูร้อนและก็เข้าสอนในช่วงเดือนอื่นๆ บางคนก็เอาความรู้จิตวิทยาไปใช้ในการอาชีพของตนเอง งานใดที่ใช้คนก็ควรจะคิดถึงนักจิตวิทยาเข้าไปด้วย ยังไงก็ตามสิ่งที่นักจิตวิทยาควรจะเก่งๆเอาไว้คือ ศึกษาเกี่ยวกับด้านปัญญาการรู้คิด ศึกษาอารมณ์ และศึกษาพฤติกรรมคนนี่แหละ

ความรู้ท่วมหัว...เอาตัวไม่รอด


ซิกมันด์ ฟรอยด์ จิตแพทย์ในตำนาน



ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) จิตแพทย์ชาวออสเตรีย เชื้อสายยิว เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2399 ในจักรวรรดิออสเตรียซึ่งปัจจุบันคือ สาธารณรัฐเช็ก และเสียชีวิตวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2482 รวมอายุ 83 ปี ครอบครัวมีอาชีพขายขนสัตว์ มีฐานะปานกลาง

ฟรอยด์สนใจด้านวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก เรียนจบจากมหาวิทยาลัยเวียนนาสาขาวิทยาศาสตร์ แล้วเรียนต่อสาขาแพทยศาสตร์ จากนั้นได้ไปศึกษาต่อด้านโรคทางสมองและประสาทที่กรุงปารีสกับหมอผู้เชี่ยวชาญด้านอัมพาต ที่นั่นฟรอยด์ได้ค้นพบว่าความจริงแล้วคนไข้บางรายป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากภาวะทางจิตใจไม่ใช่ร่างกาย หลังจากกลับมาอยู่ที่กรุงเวียนนา ฟรอยด์จึงใช้วิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) กับคนไข้ที่เป็นอัมพาต กล่าวคือให้ผู้ป่วยเล่าถึงความคับข้องใจหรือความหวาดกลัวและพยายามให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุการณ์นั้นๆ เพื่อลดความขัดแย้งในใจ ปรากฏว่ามีผู้ป่วยหลายรายหายจากอัมพาต

เขายังได้ศึกษาวิเคราะห์จิตใจของมนุษย์ และอธิบายว่า จิตใจทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ มี 3 ลักษณะ คือ
1. จิตรู้สำนึก (Conscious mind) หมายถึง สภาวะจิตที่รู้ตัวอยู่ ได้แก่ การแสดพฤติกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง
2. จิตกึ่งสำนึก (Subconscious mind) หมายถึง สภาวะจิตที่ระลึกถึงได้ แต่มิได้แสดงออกเป็นพฤติกรรมในขณะนั้น เป็นส่วนที่รู้ตัวสามารถดึงออกมใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
3. จิตใต้สำนึก (Unconscious mind) หมายถึง สภาวะจิตที่ไม่อยู่ในภาวะที่รู้ตัวระลึกถึงไม่ได้ เป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจ แต่มีอิทธิพลจูงใจพฤติกรรม และการดำเนินชีวิตของคนเรามากที่สุด

เขาอธิบายว่าจิตใต้สำนึกของคนเราแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ อิด (Id) อีโก้ (Ego) และ ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) โดย อิดจะเป็นพลังอารมณ์ความรู้สึกที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด เช่น รัก โลภ โกรธ หลง หรือเรียกว่าเป็นสัญชาตญาณดิบของคนเรานั่นเอง ซึ่งหากคนเรามีอิด เพียงอย่างเดียวก็จะไม่ต่างอะไรกับสัตว์ที่ไม่สามารถยับยั้งชั่งใจตัวเองได้ ในขณะที่ ซุปเปอร์อีโก้จะเป็นพลังงานที่เกิดจากการเรียนรู้ค่านิยมต่างๆ เช่น ความดี ความชั่ว มโนธรรม เป็นต้น ซึ่งเป็นพลังในส่วนดีของจิตมนุษย์ที่จะคอยหักล้างกับพลังอิด ทั้งนี้ในระหว่างความสุดขั้วของอิด และซุปเปอร์อีโก้นั้นจะมี อีโก้อยู่ระหว่างกลางคอยทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้คนเราแสดงสัญชาตญาณดิบออกมามากเกินไป แต่ก็ไม่ถึงขั้นทำให้คนเราแสดงออกซึ่งมโนธรรมเพียงอย่างเดียวเช่นกัน

###

ทีนี้ลองมาทำแบบทดสอบหลักการจัดลำดับความสำคัญก่อน-หลังของนายซิกมันด์ ฟรอยด์ (ห้ามแอบดูเฉลยก่อนนะ)
ให้คุณลองสมมุติว่าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในบ้านของคุณพร้อมๆกันแล้วคุณจะเลือกรับมือกับเหตุการณ์ใดก่อน?
1. มีคนโทรมา โทรศัพท์เสียงดัง
2. เด็กทารกร้องไห้จ้าอยู่ในบ้าน
3. มีคนมาหาและเคาะประตูเรียกอยู่หน้าบ้าน
4. ฝนทำท่าจะตก และคุณยังไม่ได้เก็บเสื้อผ้าที่ตากไว้ข้างนอกเลย
5. คุณลืมปิดก๊อกน้ำในห้องครัวไว้และมันก็เริ่มไหลนองพื้นแล้ว
ลองจัดลำดับเหตุการณ์สำคัญของคุณและทำใส่กระดาษ แล้วมาดูเฉลย



เฉลย
เหตุการณ์แต่ละอย่างแทนสิ่งที่คุณให้ความสำคัญในชีวิต
1. โทรศัพท์ แทน การงาน
2. เด็กทารก แทน ครอบครัว
3. คนที่ประตู แทน เพื่อน
4. เสื้อผ้าที่ตาก แทน เงิน
5. ก๊อกน้ำ แทน เซ็กส์
ไหนใครเลือก ปิดก๊อกน้ำก่อน ยกมือขึ้น !!!


source:

อยากเรียนจิตวิทยา เรียนที่ไหนดี?

รวมลิงค์สถาบันที่เปิดสอนเกี่ยวกับจิตวิทยา พร้อมด้วยลิงค์เว็บไซต์ทางการของสถาบันนั้นๆ และสาขาวิชาจิตวิทยาที่มีให้เลือกเรียน


ระดับปริญญาตรี
1.คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวิชา จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
http://www.psy.chula.ac.th

2.คณะศิลปศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ มี จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
http://www.tu.ac.th/

3.คณะสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.เกษตรศาสตร์ มี จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาชุมชน จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาอุตสาหกรรม
http://psy.soc.ku.ac.th/fsocpsy

4.คณะมนุษยศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
http://hu.swu.ac.th/psych

5.คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการแนะแนว ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
http://edu.swu.ac.th

6.คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.ศิลปากร
http://www.educ.su.ac.th/program/programI.html

7.คณะมนุษยศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.เชียงใหม่
http://www.human.cmu.ac.th/~psycho

8.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.บูรพา
http://www.huso.buu.ac.th

9.คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการแนะแนวและจิตวิทยาการให้คำปรึกษา ม.บูรพา มี จิตวิทยาการปรึกษา
http://gep.buu.ac.th/index2.html

10.คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.มหาสารคาม
http://www.msu.ac.th

11.คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.รามคำแหง มี จิตวิทยาสังคม, จิตวิทยาการบริการปรึกษาและแนะแนว, จิตวิทยาคลินิกและชุมชน, จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, จิตวิทยาพัฒนาการ
http://www.edu.ru.ac.th/aspfile/study_1.asp

12.คณะศึกษาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.ทักษิณ
http://www.tsu.ac.th

13.คณะสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.พายัพ มี จิตวิทยาการให้การปรึกษาและแนะแนว จิตวิทยาสังคม
http://psycho.payap.ac.th

14.คณะสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.นเรศวร
http://www.social.nu.ac.th/course.htm

15.วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ศิลปศาสตร สาขาวิชาจิตวิทยา มี จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาองค์การ
http://www.slc.ac.th/home/th/index.php?option=com_content&task=view&id=40&Itemid=42

16.คณะศึกษาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ มี จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว, การประถมศึกษา-จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
http://eduit.pn.psu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=169&Itemid=140

17.คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว ม.ราชภัฏธนบุรี
http://dit.dru.ac.th/home/001/index.php

18.คณะครุศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์

19.คณะครุศาสตร์ สาขาจิตวิทยาและการแนะแนว ม.ราชภัฏนครราชสีมา
http://www.edu.nrru.ac.th/psychology/index.asp

20.คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ม.เกษตรศาสตร์
http://edupsy.edu.ku.ac.th/


ระดับปริญญาโท
1.คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
http://www.psy.chula.ac.th/psy/branch.php

2.Graduate School of Psychology มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มี Counseling Psychology
http://www.grad.au.edu/py_program

3. โครงการปริญญาโทจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ม.ธรรมศาสตร์ มี จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
http://www.tu.ac.th/org/arts/psycho

4. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ มี จิตวิทยาประยุกต์
http://www.slc.ac.th/home/th/index.php?option=com_content&task=view&id=59

5. การศึกษามหาบัณฑิต ม.ศรีนครินทรวิโรฒ มี จิตวิทยาพัฒนาการ
http://hu.swu.ac.th/psych/curriculum/master.htm

6. คณะศึกษาศาสตร์ ม.ศิลปากร มี จิตวิทยาชุมชน (Community Psychology), จิตวิทยาการศึกษาพิเศษ (Special Education Psychology)
http://www.educ.su.ac.th/program/programIl.html

7.คณะมนุษยศาสตร์ สาขาจิตวิทยา ม.เชียงใหม่ มี จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, จิตวิทยาการปรึกษา
http://www.human.cmu.ac.th/~psycho

8. บัณฑิตวิทยาลัย ม.บูรพา มี จิตวิทยาการแนะแนว, พยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
http://graduate.buu.ac.th/course.htm

9. การศึกษามหาบัณฑิต ม.มหาสารคาม มี จิตวิทยาการให้คำปรึกษา
http://www.grad.msu.ac.th

10. หลักสูตรปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ ม.รามคำแหง มี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development ), จิตวิทยาครูการศึกษาพิเศษ (Psychology for Special Education Teachers), จิตวิทยาการพัฒนาการ, จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, จิตวิทยาการให้คำปรึกษา, จิตวิทยาคลินิกและชุมชน
http://www.edu.ru.ac.th/aspfile/study_2.asp

11.คณะศึกษาศาสตร์ ม.นเรศวร มี จิตวิทยาการแนะแนว (Courseling Psychology)
http://www.edu.nu.ac.th/

12. คณะศึกษาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ มี จิตวิทยาการศึกษา
http://eduit.pn.psu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=170&Itemid=141

13.คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี จิตวิทยาการศึกษา
http://www.cued-research.com

14.คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ มี โครงการปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม ภาคพิเศษ
http://indpsy.soc.ku.ac.th/index.html
จิตวิทยาชุมชน http://psy.soc.ku.ac.th/fsocpsy/community.html


ระดับปริญญาเอก
1.คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี จิตวิทยาสังคมและพัฒนาการ จิตวิทยาการปรึกษา
http://www.psy.chula.ac.th/psy/branch.php

2. หลักสูตรปริญาเอก คณะศึกษาศาสตร์ ม.รามคำแหง มี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, จิตวิทยาให้คำปรึกษา, จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
http://www.edu.ru.ac.th/aspfile/study_3.asp

3.คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี จิตวิทยาการศึกษา
http://www.cued-research.com

source: http://www.psychola.com/wordpress

24 มกราคม 2552

จิตวิทยา คืออะไร?

จิตวิทยา (psychology) คือศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ(กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรมของมนุย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้(กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่างๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรมด้วย

วิธีการทดลอง
ผู้สังเกตจะถูกเรียกว่าผู้ทดลองที่จะสร้างสภาวะหรือตัวแปรขึ้นมา เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์หรือผลกระทบต่อ ตัวแปรอื่น ๆ อาจเป็นการเปรียบเทียบตัวแปรระหว่างกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มหรือมากกว่านั้น แล้วรายงานผลการทดลอง หรือผลจากการรวบรวมและตีความหมายของการเปรียบเทียบที่ได้จากการทดลอง วิธีการนี้นิยมกระทำในห้องทดลองหรือห้องปฏิบัติการ เพราะสามารถควบคุมตัวแปรหรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ หรือให้เหลือน้อยที่สุด อีกทั้งการสังเกตก็ สามารถกระทำได้ง่ายและมีความถูกต้องแม่นยำ
ตัวแปรที่ใช้ในการทดลองแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตัวแปรอิสระ ซึ่งหมายถึงตัวแปรที่ถูกกำหนดขึ้น และ ตัวแปรตาม ซึ่งหมายถึงตัวแปรที่คาดว่าจะเป็นผลจากการกระทำกับตัวแปรอิสระ
หลังจากได้ทราบผลจากการทดลองแล้ว ผู้ทดลองต้องทำการสรุปแล้วรายงานผลการทดลองให้ผู้อื่นทราบ เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนำผลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ หรือทำการศึกษาต่อยอดความรู้ออกไป

วิธีการหาความสัมพันธ์
วิธีการหาความสัมพันธ์ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไป โดยที่ไม่ได้เจาะจงว่าตัวแปรใดมีอิทธิพลเหนือตัวแปรใด วิธีการหาความสัมพันธ์ มีดังต่อไปนี้
1. วิธีวัดทางจิตวิทยา (Psychometric techniques) ใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาและแบบสอบถาม เพื่อวัด ความแตกต่างของลักษณะต่างๆของบุคคล หรือความเปลี่ยนแปลงต่างๆของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยทั่วไปแบบทดสอบที่ใช้ใน งานวิจัยด้านหาความสัมพันธ์สามารถทดสอบตัวแปรอิสระได้เป็นรายๆไป ดังนั้น วิธีวัดทางจิตวิทยานี้จึงแสดงให้เห็น ความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว ด้วยผลที่ได้จากการทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถามนั่นเอง
2. การสังเกตในสภาพธรรมชาติ (Naturalistic Observation) การสังเกตในสภาพธรรมชาติจะให้ข้อ เท็จจริงได้มากกว่า เพราะเป็นการสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต ผู้ถูกสังเกตจะต้องไม่รู้ตัวว่าถูกสังเกต เพื่อให้พฤติกรรม ต่างๆเป็นไปตามธรรมชาติโดยแท้จริง แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการสังเกตระยะหนึ่ง ซึ่งบางครั้งอาจค่อนข้างยาวนาน
3. การสังเกตด้วยวิธีการทางคลีนิค (Clinical Method of Observation) เป็นการศึกษาประวัติรายบุคคล (กรณีศึกษา) ซึ่งจะช่วยให้นักจิตวิทยาเข้าใจประวัติความเป็นมา พื้นฐานการอบรมเลี้ยงดู รวมไปถึงพื้นฐานของการ เกิดพฤติกรรม เพื่อใช้ประกอบการบำบัดรักษาหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

วิธีการสังเกตดังกล่าวอาจเกิดผิดพลาดด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ ผู้ศึกษาจึงต้องมีการวางแผนและได้รับการฝึกฝนอย่างดี โดยเฉพาะการสังเกตวิธีทางคลีนิค ที่ไม่สามารถกระทำซ้ำได้ ทั้งวิธีการทดลองและวิธีการหาความสัมพันธ์ต่างก็มีประโยชน์และความเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี แต่หลายๆ ครั้งที่มีการผสมผสานทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน เพื่อการศึกษาที่ละเอียดหลายๆด้าน และเป็นประโยชน์ในทางจิตวิทยามากยิ่งขึ้น

source: http://th.wikipedia.org/wiki/จิตวิทยา